Servizi
Prenota
หนังสือเดินทาง (Passaporto)
เอกสารที่ต้องใช้ (พร้อมสำเนาและรับรองสำเนาถูกต้องอย่างละ 1 ชุด)
1. ใบคำร้องที่กรอกข้อมูลถูกต้องครบถ้วน พร้อมติดรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 1 รูป
2. หนังสือเดินทางเล่มเดิม
3. บัตรประจำตัวประชาชนไทยที่ยังมีอายุใช้งานหรือสูติบัตรไทยในกรณีที่ผู้ร้องยังไม่มีบัตรประชาชน หากบัตรประชาชนขาดอายุ ต้องนัดหมายทำบัตรประจำตัวประชาชนก่อน จึงจะสามารถขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ได้
4. สำเนาทะเบียนบ้านของไทย (หากมี)
5. ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลของไทย หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล
เอกสารที่ต้องใช้สำหรับผู้ร้องที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (พร้อมสำเนาและรับรองสำเนาถูกต้องอย่างละ 1 ชุด)
1. ใบคำร้องที่กรอกข้อมูลถูกต้องครบถ้วน พร้อมติดรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 1 รูป
2. หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
3. บัตรประชาชนไทยหรือสูติบัตรไทยในกรณีที่ผู้ร้องยังไม่มีบัตรประชาชน
4. สำเนาทะเบียนบ้านของไทย (หากมี)
5. ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลของไทย หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล
**บิดาและมารดา
1. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา
2. หนังสือเดินทางของบิดาและมารดา
3. ทะเบียนสมรสของบิดาและมารดา
กรณีทำหนังสือเดินทางในประเทศอิตาลี
- หากบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเดินทางมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือระหว่างดำเนินโครงการกงสุลสัญจรได้ ต้องมีหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์ทำหนังสือเดินทางและทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหาย โดยผู้ให้ความยินยอม (กรณีเป็นชาวอิตาเลียน) ต้องไปลงนามให้ความยินยอมฯ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือสำนักงานโนตาลี (Notaio) ในพื้นที่ แล้วให้ผู้เยาว์นำหนังสือยินยอมดังกล่าว (แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ให้ความยินยอมที่รับรองสำเนาถูกต้อง) มายื่นประกอบคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง (ดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือยินยอม)
- กรณีทำหนังสือเดินทางในประเทศไทย
หากบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเดินทางไปลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่กรมการกงสุลหรือสำนักงานหนังสือเดินทางต่างๆ ได้ บิดาหรือมารดาที่ไม่สามารถเดินทางไปลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ต้องเดินทางมาทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์ทำหนังสือเดินทางและทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเอง
- กรณีบิดาและมารดาหย่าขาดจากกัน ต้องแสดงบันทึกการหย่าที่ระบุให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจปกครองบุตรหรือคำสั่งศาล ในกรณีบิดาและมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและแยกกันอยู่ ให้แสดงแบบ ปค. 14 ที่ออกโดยอำเภอระบุว่า ผู้เยาว์อยู่ในการปกครองของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว หากผู้เยาว์อยู่ในปกครองของบิดาต้องใช้คำสั่งศาลเท่านั้น
หลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลหากบิดาหรือมารดาเปลี่ยนแปลงชื่อหรือนามสกุล
1. ใบคำร้องที่กรอกข้อมูลถูกต้องครบถ้วน พร้อมติดรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 1 รูป
2. หนังสือเดินทางเล่มเดิม
3. บัตรประจำตัวประชาชนไทยที่ยังมีอายุใช้งานหรือสูติบัตรไทยในกรณีที่ผู้ร้องยังไม่มีบัตรประชาชน หากบัตรประชาชนขาดอายุ ต้องนัดหมายทำบัตรประจำตัวประชาชนก่อน จึงจะสามารถขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ได้
4. สำเนาทะเบียนบ้านของไทย (หากมี)
5. ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลของไทย หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล
เอกสารที่ต้องใช้สำหรับผู้ร้องที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (พร้อมสำเนาและรับรองสำเนาถูกต้องอย่างละ 1 ชุด)
1. ใบคำร้องที่กรอกข้อมูลถูกต้องครบถ้วน พร้อมติดรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 1 รูป
2. หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
3. บัตรประชาชนไทยหรือสูติบัตรไทยในกรณีที่ผู้ร้องยังไม่มีบัตรประชาชน
4. สำเนาทะเบียนบ้านของไทย (หากมี)
5. ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลของไทย หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล
**บิดาและมารดา
1. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา
2. หนังสือเดินทางของบิดาและมารดา
3. ทะเบียนสมรสของบิดาและมารดา
กรณีทำหนังสือเดินทางในประเทศอิตาลี
- หากบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเดินทางมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือระหว่างดำเนินโครงการกงสุลสัญจรได้ ต้องมีหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์ทำหนังสือเดินทางและทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหาย โดยผู้ให้ความยินยอม (กรณีเป็นชาวอิตาเลียน) ต้องไปลงนามให้ความยินยอมฯ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือสำนักงานโนตาลี (Notaio) ในพื้นที่ แล้วให้ผู้เยาว์นำหนังสือยินยอมดังกล่าว (แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ให้ความยินยอมที่รับรองสำเนาถูกต้อง) มายื่นประกอบคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง (ดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือยินยอม)
- กรณีทำหนังสือเดินทางในประเทศไทย
หากบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเดินทางไปลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่กรมการกงสุลหรือสำนักงานหนังสือเดินทางต่างๆ ได้ บิดาหรือมารดาที่ไม่สามารถเดินทางไปลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ต้องเดินทางมาทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์ทำหนังสือเดินทางและทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเอง
- กรณีบิดาและมารดาหย่าขาดจากกัน ต้องแสดงบันทึกการหย่าที่ระบุให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจปกครองบุตรหรือคำสั่งศาล ในกรณีบิดาและมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและแยกกันอยู่ ให้แสดงแบบ ปค. 14 ที่ออกโดยอำเภอระบุว่า ผู้เยาว์อยู่ในการปกครองของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว หากผู้เยาว์อยู่ในปกครองของบิดาต้องใช้คำสั่งศาลเท่านั้น
หลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลหากบิดาหรือมารดาเปลี่ยนแปลงชื่อหรือนามสกุล
Prenota
นิติกรณ์ (Legalization)
***กรุณาระบุเอกสารที่ท่านต้องการขอใน commenti***
- หนังสือรับรองคุณสมบัติในการสมรส (Nulla Osta)
- แจ้งเกิดบุตร
- ใบมอบอำนาจ
- ขอหนังสือรับรองความประพฤติ
เอกสารที่ต้องใช้สามารถตรวจสอบได้ในเว็บไซต์ของทางสถานทูต http://www.thaiembassy.it/index.php/th/ฝ่ายกงสุล/บริการกงสุล
- หนังสือรับรองคุณสมบัติในการสมรส (Nulla Osta)
- แจ้งเกิดบุตร
- ใบมอบอำนาจ
- ขอหนังสือรับรองความประพฤติ
เอกสารที่ต้องใช้สามารถตรวจสอบได้ในเว็บไซต์ของทางสถานทูต http://www.thaiembassy.it/index.php/th/ฝ่ายกงสุล/บริการกงสุล
เอกสารที่ต้องใช้
1. บัตรประชาชนไทยใบปัจจุบัน (ยกเว้นกรณีสูญหาย) เนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ต้องส่งคืนกระทรวงมหาดไทย
2. บัตรประจำตัวผู้มีถิ่นพำนักในอิตาลี หรือเอกสารทางราชการแสดงถิ่นที่อยู่ในประเทศอิตาลีและประเทศในเขตอาณา
3. เอกสารอื่น ๆ ที่ออกโดยทางการไทย ซึ่งมีภาพถ่ายที่สามารถใช้ยืนยันตัวตนของท่านได้ เช่น หนังสือเดินทาง ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ เป็นต้น
สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถให้บริการทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยได้ในกรณีต่อไปนี้
- การขอมีบัตรประชาชนเป็นครั้งแรก
- ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง
- ผู้ร้องไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- เป็นบุคคลซ้ำซ้อน ไม่ตรงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย
- ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล คำนำหน้านาม และอื่น ๆ ในบัตรประชาชน ซึ่งไม่ตรงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย
1. บัตรประชาชนไทยใบปัจจุบัน (ยกเว้นกรณีสูญหาย) เนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ต้องส่งคืนกระทรวงมหาดไทย
2. บัตรประจำตัวผู้มีถิ่นพำนักในอิตาลี หรือเอกสารทางราชการแสดงถิ่นที่อยู่ในประเทศอิตาลีและประเทศในเขตอาณา
3. เอกสารอื่น ๆ ที่ออกโดยทางการไทย ซึ่งมีภาพถ่ายที่สามารถใช้ยืนยันตัวตนของท่านได้ เช่น หนังสือเดินทาง ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ เป็นต้น
สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถให้บริการทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยได้ในกรณีต่อไปนี้
- การขอมีบัตรประชาชนเป็นครั้งแรก
- ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง
- ผู้ร้องไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- เป็นบุคคลซ้ำซ้อน ไม่ตรงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย
- ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล คำนำหน้านาม และอื่น ๆ ในบัตรประชาชน ซึ่งไม่ตรงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย
Fai crescere il tuo brand con Setmore